17.2.51

สาระน่ารู้เกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนน

ร.ต.อ.วิสุทธิ์ ภิมาลย์ : เขียน
การขับขี่อย่างปลอดภัยเราทำได้
อุบัติเหตุทุกชนิดเป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 ของประเทศไทย รองลงมาจากโรคหัวใจและมะเร็งอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับยานพาหนะที่บ่อยที่สุด 4 ประเภท อันดับแรก คือ รถจักรยานยนต์ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถบรรทุกขนาดเล็ก รถบรรทุกขนาดใหญ่ อัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการจราจร จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 ต่อปี
สถิติอุบัติเหตุระหว่าง 29 ธ.ค.46 ถึง 4 ม.ค. 47 รวม 7 วัน มียอดผู้เสียชีวิตทั่วประเทศ 628 ราย บาดเจ็บ 26,100 คนจังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดคือนครราชสีมา
สถิติอุบัติเหตุระหว่าง 29 ม.ค.47 ถึง 4 ม.ค.48 รวม 7 วัน จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วประเทศ 467 ราย บาดเจ็บ 6,885 คน สถิติผู้เสียชีวิตลดลง 161 รายและบาดเจ็บลดลง 19,215 คน
อุบัติเหตุไม่ใช่เกิดจากเหตุบังเอิญ ไม่ใช่กรรมเวรหรือพรหมลิขิต ดังนั้นอุบัติเหตุส่วนใหญ่จึงเป็นสิ่งที่เราสามารถป้องกันได้หากมีความตระหนักถึงพิษภัยและไม่ประมาท
สาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุ
อุบัติเหตุไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะเหตุบังเอิญหรือพรหมลิขิต แต่เกิดขึ้นจากการเตรียมการที่ไม่ดีและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้นอุบัติเหตุส่วนใหญ่สามารถจะป้องกันได้
สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่เป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตรายหรือพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยของคนซึ่งจะมีสาเหตุที่แน่ชัดดังนี้
1. ความบกพร่องของคน ในคนเรานั้นประกอบด้วยกายและจิต ถ้ามีความบกพร่องส่วนใดส่วนหนึ่งก็จะเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้
1.1 ความบกพร่องทางกาย ความผิดปกติของอวัยวะที่สำคัญต่าง ๆ เช่น สายตาสั้น ตาบอดสี หูตึง มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคลมชัก โรคเบาหวานทำให้การมีปฏิกิริยาตอบสนองเชื่องช้า ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุ
1.2 ความบกพร่องทางจิตและอารมณ์ ผู้ที่มีอารมณ์ขุ่นมัว โกรธ แค้นเคือง หรือผิดหวังจะแสดงออกทางการกระทำต่าง ๆ ที่ไม่ปลอดภัย การเสพยาบางชนิด เช่น ยาบ้า ยาขยัน ยาเสพติด ยานอนหลับและสุรา จะทำให้การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
2. ความบกพร่องของวัตถุและเครื่องจักร บรรดาเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมาอาจขาดความมั่นคงแข็งแรง วัสดุของใช้ที่เก่าชำรุด เสื่อมสภาพก็ยิ่งก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้บ่อยยิ่งขึ้น
3. สภาพดินฟ้าอากาศและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ฝนตก พายุ ฟ้าผ่า น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด หมอกลงจัด ถนนลื่นเพราะน้ำฝน โคลนถล่ม ควันไฟที่หนาทึบ เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุ บางครั้งเรียกว่า “ภัยพิบัติจากธรรมชาติ”

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจราจร
ลักษณะ 10 รถจักรยาน
มาตรา 79 ทางที่ได้จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับในทางนั้น
มาตรา 80 รถจักรยานที่ใช้ในทางเดินรถ ไหล่ทางหรือที่จัดไว้สำหรับจักรยาน ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องจัดให้มี
(1) กระดิ่งที่ให้เสียงสัญญาณได้ยินได้ในระยะไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร
(2) เครื่องห้ามล้อที่ใช้การได้ดี เมื่อใช้สามารถทำให้รถจักรยานหยุดได้ทันที
(3) โคมไฟติดหน้ารถจักรยานแสงขาวไม่น้อยกว่าหนึ่งดวงที่ให้แสงไฟส่องตรงไปข้างหน้าเห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่าสิบห้าเมตร และอยู่ในระดับต่ำกว่าสายตาของผู้ขับขี่ซึ่งขับรถสวนมา
(4) โคมไฟติดท้ายรถจักรยานแสงแดงไม่น้อยกว่าหนึ่งดวงที่ให้แสงสว่างตรงไปข้างหลังหรือติดวัตถุสะท้อนแสงสีแดงแทน ซึ่งเมื่อถูกส่องให้มีแสงสะท้อน
มาตรา 81 ในเวลาต้องเปิดไฟตามมาตรา 11 หรือมาตรา 61 ผู้ขับขี่รถจักรยานอยู่ในทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่จัดไว้สำหรับรถจักรยานต้องจุดโคมไฟ
มาตรา 82 ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับให้ชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่จัดไว้สำหรับรถจักรยานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถต้องขับขี่รถจักรยานให้ชิดช่องเดินรถประจำทางนั้น
มาตรา 83 ในทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่จัดไว้สำหรับรถจักรยานห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถจักรยาน
(1) ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคล หรือทรัพย์สิน
(2) ขับรถโดยไม่จับคันบังคับ
(3) ขับรถขนานกันเกินกว่าสองคัน เว้นแต่ขับในทางที่จัดไว้สำหรับรถจักรยาน
(4) ขับโดยนั่งบนที่อื่นอันมิใช่อานที่จัดไว้เป็นที่นั่งตามปกติ
(5) ขับโดยบรรทุกคนอื่นเว้นแต่รถจักรยานสามล้อสำหรับบรรทุกคน ทั้งนี้ตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด
(6) บรรทุก หรือถือสิ่งของ หีบห่อ หรือของใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจับคันบังคับรถหรืออันอาจจะเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
(7) เกาะหรือพ่วงรถอื่นที่กำลังแล่นอยู่
บทกำหนดโทษ ฝ่าฝืน มาตรา 79 80 81 82 ปรับไม่เกินสองร้อยบาท
ฝ่าฝืนมาตรา 83 ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

ไม่มีความคิดเห็น: